ชื่อโครงการ |
: |
Organic and Natural Expo 2017 |
ระยะเวลาการจัดงาน |
: |
วันพฤหัสบดีที่ 27 - วันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (4 วัน) เวลา 10.00 – 20.00 น. |
สถานที่จัดงาน |
: |
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (Plenary Hall 1 – 3) |
ลักษณะงาน |
: |
Organic & Natural Expo 2017 เป็นงานแสดงสินค้าอินทรีย์และธรรมชาติ รวมถึงบริการอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเป็นการรวบรวมผู้ผลิตผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าและบริการอินทรีย์ และธรรมชาติ อย่างครบวงจร เพื่อขยายตลาดสินค้าอินทรีย์ ส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าอินทรีย์ให้เป็นที่รู้จัก ตลอดจนกระตุ้นการบริโภคสินค้าอินทรีย์ |
ผู้จัดงาน |
: |
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
: |
- ผู้เข้าร่วมสัมมนาในประเทศและต่างประเทศ 400 คน
- ผู้เข้าชมงานแสดงสินค้า 50,000 คน
- สื่อมวลชน |
วัตถุประสงค์ |
: |
- เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าและบริการอินทรีย์ไทยทั้งในและต่างประเทศ
- เพื่อรวบรวมผู้ผลิตและผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรอินทรีย์ และเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าอินทรีย์ อย่างครบวงจร
- เพื่อสร้างเครือข่ายการค้า เพิ่มช่องทางการตลาด รวมทั้งการเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ผลิต/เจ้าของสินค้าและผู้ซื้อ ในและต่างประเทศ
- เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ในทุกระดับด้านการผลิต การตลาดและการรับรองมาตรฐานสากล ได้โอกาสทางการค้ากับผู้ซื้อในประเทศและผู้นำเข้าต่างประเทศ
- เพื่อกระตุ้น ให้เกิดการตื่นตัวในการบริโภคเพื่อสุขภาพ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- เพื่อพัฒนาผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่ได้รับรู้โอกาสและทิศทางในการทำการค้ากับผู้ประกอบการในประเทศและผู้นำเข้าต่างประเทศ และสามารถแข่งขันในการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์
- สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเกษตรกร ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการผลักดันและเชื่อมโยงการตลาด ข้อมูลการค้า กฎระเบียบ และมาตรฐานการรับรองระหว่างภูมิภาคของไทยและต่างประเทศ |
หน่วยงานที่ร่วมจัด
นิทรรศการ |
: |
กระทรวงสาธารณสุข
กรมประมง
กรมพัฒนาที่ดิน
กรมวิชาการเกษตร
กรมการข้าว
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.)
สมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย
ชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทยและมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์กรมหาชน)
กรมการค้าต่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ ส่วนกลาง ร่วมกับมูลนิธิสายใยแผ่นดิน
สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
มูลนิธิเพื่อสันติภาพเขียว (กรีนพีช) |
ผู้เข้าร่วมงานเป้าหมาย |
: |
ผู้ประกอบการจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค หน่วยงานจากภาครัฐและสมาคมที่เกี่ยวข้องประมาณไม่ต่ำกว่า 200 ราย (ขนาดคูหา 3x2 เมตร) |
ผู้เข้าชมงานเป้าหมาย |
: |
ประชาชนทั่วไปผู้สนใจ และผู้นำเข้าจากต่างประเทศ |
ประเภทสินค้าและบริการ |
: |
- สินค้าทุกประเภทที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล มาตรฐานอื่นๆ และสินค้าที่อยู่ในระยะปรับเปลี่ยน
- ธุรกิจบริการอินทรีย์ เช่น โรงแรม รีสอร์ท สปา ร้านอาหาร ร้านกรีน ฯลฯ |
ลักษณะงาน |
: |
เป็นงานจำหน่ายปลีก |
ค่าใช้จ่ายในการเข้าชมงาน |
: |
ไม่มี |
กิจกรรม |
: |
- การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าและบริการอินทรีย์
- การเจรจาธุรกิจ
- นิทรรศการให้ความรู้ด้านสินค้าและบริการอินทรีย์
- งานสัมมนาทางวิชาการด้านการตลาดสินค้าอินทรีย์
- คลินิคให้คำปรึกษาจากหน่วยงานราชการ สมาคมที่เกี่ยวข้อง
- กิจกรรมพิเศษบนเวที เช่น เชฟชื่อดังสาธิตการทำอาหาร การปลูกผักออร์แกนิคและสิ่งประดิษฐ์ธรรมชาติแบบ DIY |
หลักเกณฑ์การคัดเลือก
ผู้ประกอบการเข้าร่วมงาน |
: |
โดยให้ความสำคัญตามลำดับดังนี้
1 ผู้ได้รับมาตรฐานออร์แกนิคส่งออก และมาตรฐานยังไม่หมดอายุ และมีโลโก้มาตรฐานติดที่ผลิตภัณฑ์แล้ว
2 ผู้ได้รับมาตรฐานออร์แกนิคส่งออกและมาตรฐานยังไม่หมดอายุ แต่ยังไม่มีโลโก้มาตรฐานติดที่ผลิตภัณฑ์
3 ผู้อยู่ในระหว่างการขอมาตรฐานออร์แกนิคส่งออก หรือที่เรียกว่า ระยะปรับเปลี่ยน ซึ่งมีมาตรฐานประเทศไทย (Organic Thailand) แล้วเป็นอย่างน้อย
4 ผู้ได้รับมาตรฐานออร์แกนิคในประเทศ (Organic Thailand ของกระทรวงเกษตรฯ)
5 ผู้อยู่ในระหว่างการขอมาตรฐานออร์แกนิคส่งออก หรือที่เรียกว่าระยะปรับเปลี่ยน ซึ่งมีมาตรฐานสินค้าปลอดภัย (GAP) แล้วเป็นอย่างน้อย
6 ผู้ได้รับมาตรฐานออร์แกนิคท้องถิ่น
7 สินค้าปลอดภัย มาตรฐานปลอดภัย GAP GMP
8 เกษตรอินทรีย์วิถีพื้นบ้าน
9 สินค้าไร้สาร ปลอดสาร
10 สินค้าธรรมชาติ ประเภทอาหาร เช่น ไม่มีวัตถุกันเสีย/ไม่มีสาร... ประเภทไม่ใช่อาหาร เช่น ผ้าย้อมสีธรรมชาติ/ผลิตภัณฑ์จักสาน |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
: |
1 เกิดการสร้างเครือข่ายทางการค้า ผู้ประกอบการมีช่องทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น ช่วยสร้างรายได้และยอดขายให้กับผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ ทั้งที่ได้รับมาตรฐาน และที่อยู่ในระยะปรับเปลี่ยน
2 สินค้าและบริการอินทรีย์เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น
3 ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากขึ้น
4 เกิดการตระหนักรู้ และตื่นตัวในการบริโภคเพื่อสุขภาพ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม |